องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์ (Computer and Hardware)


คอมพิวเตอร์ (Computer)หมายถึง อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิคส์ ที่สามารถกำหนดชุดคำสั่ง (Programmed) เพื่อให้เกิดการรับข้อมูลจากส่วนนำเข้า (Input Unit) แล้วนำมาทำการประมวลผล (Processing) ให้เกิดเป็นสารสนเทศในส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) ที่เกิดประโยชน์และเราเก็บสารสนเทศเหล่านี้ไว้ในส่วนสำรองข้อมูล (Secondary Storage) ที่เราสามารถนำกลับมาใช้หรือปรับแก้ได้ตามต้องการ


เครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำงานได้นั้นจะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ ส่วนแรกนั้นจะต้องเป็นตัวเครื่องหรือที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซึ่งประกอบด้วยจอภาพ ชุดซีพียู คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และแผ่นดิสก์ ส่วนที่ 2 เรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่ไว้ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ส่วนสุดท้ายเรียกว่า พิเพิลแวร์ (Peopleware) ซึ่งส่วนนี้จะหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานป้อนข้อมูล นักเขียนโปรแกรม หรือนักวิเคราะห์ออกแบบระบบงานต่าง ๆ


มีหลายคนสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ เอาข้อมูลเข้ามาทำงานเพื่อให้ได้เป็นสารสนเทศได้อย่างไร เราดูได้จากหน้าที่ในการทำงานของฮาร์ดแวร์ 4 ส่วนนี้ เมื่อเริ่มต้น อุปกรณ์นำเข้า (Input Unit) ได้รับข้อมูลหรือคำสั่งที่อยู่ใน รูปแบบที่คอมพิวเตอร์ใช้ได้เข้ามา (รูปแบบข้อมูลที่มีลักษณะเป็นดิจิตอล รหัส 0 และ 1) คอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลหรือคำสั่งเหล่านี้ไปยังส่วนความจำหลัก (Primary Storage) ของคอมพิวเตอร์เพื่อให้ส่วนประมวลผล (Processing Unit) นำข้อมูลเหล่านั้นไปทำงานต่อไปส่วนประมวลผล จะมีตัวโปรเซสเซอร์ (Processor) ซึ่งเป็นแผงวงจรทางอิเล็กทรอนิคส์ที่เราเรียกว่า "หน่วยประมวลผลกลาง" (Central Processing Unit : CPU) คอยจัดการข้อมูล หรือคำสั่งที่เข้ามาเหล่านี้ให้ได้ผลลัพธ์เป็นสารสนเทศที่คนต้องการ เมื่อได้ผลลัพธ์มาก็จะนำมาแสดงในส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) โดยผ่านอุปกรณ์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


นอกจากนี้เรายังสามารถเก็บสารสนเทศเหล่านี้ไว้ได้ ในส่วนสำรองข้อมูล (Secondary Storage) เพื่อที่จะนำกลับมาใช้หรือปรับแก้ได้ตามต้องการ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ แผ่นดิสก์เก็ต (เรียกสั้น ๆ ว่า แผ่นดิสก์) ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งถ้าเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในส่วนความจำสำรองนี้จะไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างจากข้อมูลในส่วนความจำหลักที่ข้อมูลจะหายไป ต่อไปเราพิจารณาว่าฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง และเพื่อให้เราเข้าใจได้ง่าย เราจะพิจารณาจากอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีอยู่ทั่วไป


อุปกรณ์ของไมโครคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ภายนอกซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน คือ


1. อุปกรณ์สำหรับการป้อนข้อมูล(Input device)


2. หน่วยของระบบคอมพิวเตอร์(The system unit)


3. หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage)


4. อุปกรณ์สำหรับการแสดงผล (Output device) และ


5. อุปกรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูล (Communication device) โดยที่อุปกรณ์สำหรับการป้อนข้อมูล(Input device)ทำหน้าที่แปลข้อมูลและโปรแกรมข้อมูลที่มนุษย์เข้าใจได้ไปเป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้อุปกรณ์สำหรับการป้อนข้อมูลส่วนใหญ่ของไมโครคอมพิวเตอร์ ก็คือ แป้นพิมพ์(Keyboard) เมาส์(Mouse)โดยแป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดทั่วไปแต่จะเพิ่มปุ่มพิเศษเข้าไปด้วย ส่วนเมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ลูกกลมกลิ้งไปบนโต๊ะ ใช้สำหรับควบคุม เคอร์เซอร์(Cursor)ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยเมาส์จะมีปุ่มสำหรับเพื่อการ


เลือกใช้คำสั่งอยู่หนึ่งหรือสองปุ่มและเมาส์ยังใช้สำหรับการวาดรูปอีกด้วย


จากความหมายของคอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึง อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิคส์ ที่สามารถกำหนดชุดคำสั่ง (Programmed) เพื่อให้เกิดการรับข้อมูลจากส่วนนำเข้า (Input Unit) แล้วนำมาทำการประมวลผล (Processing) ให้เกิดเป็นสารสนเทศในส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) ที่เกิดประโยชน์และเราเก็บสารสนเทศเหล่านี้ไว้ในส่วนสำรองข้อมูล (Secondary Storage) ที่เราสามารถนำกลับมาใช้หรือปรับแก้ได้ตามต้องการ มีหลายคนสงสัยว่าคอมพิวเตอร์เอา ข้อมูลเข้ามาทำงานเพื่อให้ได้เป็นสารสนเทศได้อย่างไร


หน้าที่ในการทำงานของฮาร์ดแวร์ 4 ส่วน ประกอบด้วย


1. อุปกรณ์นำเข้า (Input Unit) ได้รับข้อมูลหรือคำสั่งที่อยู่ใน รูปแบบที่คอมพิวเตอร์ใช้ได้เข้ามา (รูปแบบข้อมูลที่มีลักษณะเป็นดิจิตอล รหัส 0 และ 1) คอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลหรือคำสั่งเหล่านี้ไปยังส่วนความจำหลัก (Primary Storage) ของคอมพิวเตอร์เพื่อให้ส่วนประมวลผล (Processing Unit) นำข้อมูลเหล่านั้นไปทำงานต่อไป


2. ส่วนประมวลผล จะมีตัวโปรเซสเซอร์ (Processor) ซึ่งเป็นแผงวงจรทางอิเล็กทรอนิคส์ที่เราเรียกว่า "หน่วยประมวลผลกลาง" (Central Processing Unit : CPU) คอยจัดการข้อมูล หรือคำสั่งที่เข้ามาเหล่านี้ให้ได้ผลลัพธ์เป็นสารสนเทศที่คนต้องการ


3. ส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) โดยผ่านอุปกรณ์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


4. ส่วนสำรองข้อมูล (Secondary Storage) เพื่อที่จะนำกลับมาใช้หรือปรับแก้ได้ตามต้องการ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ แผ่นดิสก์เก็ต (เรียกสั้น ๆ ว่า แผ่นดิสก์) ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งถ้าเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในส่วนความจำสำรองนี้จะไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างจากข้อมูลในส่วนความจำหลักที่ข้อมูลจะหายไป ต่อไปเราพิจารณาว่าฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง และเพื่อให้เราเข้าใจได้ง่าย เราจะพิจารณาจากอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีอยู่ทั่วไป

ผู้ติดตาม